News

Kick-off meeting on the Vietnam Global Health Office

Kick-off meeting on the Vietnam Global Health Office

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2562 กระทรวงสาธารณสุขเวียดนามได้จัดการประชุม “Kick-off meeting on the Vietnam Global Health Office” เพื่อประกาศการจัดตั้ง Vietnam Global Health Office นอกจากนี้ยังเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การดำเนินในเรื่องสุขภาพโลกระหว่างประเทศเวียดนามและประเทศต่างๆ

ทั้งนี้ดร.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร ดร.วลัยพร พัชรนฤมล และดร.วริศา พานิชเกรียงไกร ได้รับเชิญให้นำเสนอประสบการณ์ของประเทศไทย โดยหนึ่งในผลลัพธ์ของการประชุมครั้งนี้ได้แก่ การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศเวียดนามและประเทศไทยในเรื่องสุขภาพโลกในอนาคต

Universal Health Coverage (UHC) and Health Systems Development: Learning and Sharing Experiences between Morocco and Thailand

Universal Health Coverage (UHC) and Health Systems Development:

Learning and Sharing Experiences between Morocco and Thailand

 

ระหว่างวันที่ 2-4 ธันวาคม 2562 สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศได้จัดการศึกษาดูงานให้แก่คณะผู้บริหารระดับสูงจากราชอาณาจักรโมร็อกโกและเจ้าหน้าจากองค์การอนามัยโลก จำนวนทั้งสิ้น 5 ท่าน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการพัฒนาระบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย

เนื่องจากในขณะนี้ระบบสุขภาพของประเทศโมร็อกโกกำลังอยู่ในช่วงปฏิรูป วัตถุประสงค์หลักของการมาศึกษาดูงานในครั้งนี้จึงต้องการพูดคุยในเรื่อง 1. การปฎิรูประบบสุขภาพของไทยโดยเน้นมิติด้านกลยุทธ์และด้านการเมือง 2. องค์กรด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะบทบาทของการบริการสุขภาพขั้นปฐมภูมิและระบบการส่งต่อผู้ป่วย  3. ระบบการเงินทางสุขภาพโดยเน้นเรื่องของหลักเกณฑ์และการจัดการในการจ่ายเงินของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า  4. การมีส่วนร่วมในนโยบายสุขภาพของประชาชนไทย 5. การจัดการกำลังคนด้านสุขภาพในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และสุดท้าย 6. ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและเอกชนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทย

คณะศึกษาดูงานยังได้มีโอกาสเยี่ยมชมและเรียนรู้การดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ และโรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม

ในวันที่ 2 ธค 2562 นพ.ศักดิ์ชัย  กาญจนวัฒนา  เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) กล่าวต้อนรับคณะศึกษาดูงาน จากนั้นคณะศึกษาดูงานได้เดินเยี่ยมชมสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องการดำเนินงานของระบบหลักประกันสุขภาพของไทย การพัฒนาระบบการส่งต่อ  กลไกของการจัดซื้ออย่างมียุทธศาสตร์  การจัดการด้านการเงินและระบบการจ่ายเงินของกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

สำหรับวันที่สองของการศึกษาดูงาน  ทางคณะศึกษาดูงานได้ยี่ยมชมโรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยตัวแทนโรงพยาบาลได้นำเสนอข้อมูลภาพรวมของการให้บริการของโรงพยาบาล ทรัพยากรบุคคลและการให้บริการผู้ป่วย รวมทั้งได้เดินเยี่ยมชนส่วนต่างๆของโรงพยาบาล  ในภาคบ่ายได้เยี่ยมชมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลกระทุ่มล้ม และได้พบปะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี

วันสุดท้ายของการศึกษาดูงาน เป็นการนำเสนอการมีส่วนร่วมของหลายภาคส่วน และกระบวนการการมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วนที่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทย โดยตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)  นอกจากนี้นักวิจัยจากสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศได้นำเสนอสถานการณ์ด้านกำลังคนด้านสุขภาพที่มุ่งเน้นนโยบายการผลิตและการคงอยู่ของกำลังคนในระบบสุขภาพไทย หลังจากนั้นคุณวิไลลักษณ์ จาก สปสช. ได้แลกเปลี่ยนและสรุปบทเรียนจากการศึกษาทั้งสามวันที่ผ่านมา

 

Training of the trainer on global health workshop, November 24th – 27th, 2019

Training of the trainer on global health workshop, November 24th – 27th, 2019

เมื่อวันที่ 24-27 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา แผนงานสุขภาพโลกด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลก (WHO CCS 2017-2021) ภายใต้มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “The Training of the trainer on global health” ณ สวนสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรรุ่นใหม่ในการเป็นวิทยากรด้านสุขภาพโลก และสร้างเครือข่ายระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการทั้งในประเทศและต่างประเทศ

โดยมี ศาสตราจารย์ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา ดร.ทักษพล ธรรมรังสี  นายรังสรร มั่นคง และ ดร.วริศา พานิชเกรียงไกร ร่วมเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนประสบการณ์และให้คำแนะนำแก่วิทยากรรุ่นใหม่ ทั้ง 11 คน จาก 3 ประเทศ ได้แก่ ภูฏาน มัลดีฟส์ และไทย โดยมี ดร.อรทัย วลีวงศ์ และ น.ส.อรณา จันทรศิริ นักวิจัยจาก IHPP เข้าร่วม ในฐานะวิทยากรรุ่นใหม่ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ด้วย

The International Trade and Health [ITH] Conference 2019

The International Trade and Health [ITH] Conference 2019

เมื่อวันที่ 19-20 พฤศจิกายน 2562 ที่โรงแรมเมอเวนพิคฯ มีการจัดประชุมวิชาการการค้าระหว่างประเทศและสุขภาพ (ITH) ประจำปี 2562 หัวข้อ “การค้าระหว่างประเทศและสุขภาพของอาเซียน: แสวงจุดร่วมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดย คณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพ (คจ.คส. หรือ NCITHS) ร่วมกับแผนงานการพัฒนาศักยภาพด้านการค้าระหว่างประเทศและสุขภาพ (ITH) และเครือข่าย

การประชุมในปีนี้นับเป็นครั้งที่ 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านากรค้าระหว่างประเทศของภูมิภาคอาเซียน เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ โดยจะนำเสนอผลการประชุมไปยังคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์กำลังเดินหน้ารื้อฟื้นการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างไทย-อียู หลังจากเวียดนามได้บรรลุข้อตกลงเอฟทีเอกับอียูไปแล้ว

 

Download Full News Detail: The International Trade and Health [ITH] Conference 2019

More information on the conference can be found at http://iththailand.net/events/ith-conference/142-ith-conference-2019.html

IHPP research fellow from the HPSR fellowship program presented the study in the American Society Tropical Medicine and Hygiene Annual Meeting in Washington DC

 

Research fellow ภายใต้โครงการ HPSR fellowship เสนอผลงานวิชาการที่งานประชุมประจำปี American Society Tropical Medicine and Hygiene เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562

เมื่อวันที่ 19-24 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา American Society Tropical Medicine and Hygiene ได้จัดประชุมประจำปี ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีผู้เข้าประชุมกว่า 5,000 คนจากหลากหลายประเทศทั่วโลก

การประชุมมีการหารือในประเด็นหลากหลายที่เกี่ยวกับโรคเขตร้อนและสุขอนามัย โดยมีการนำเสนอผลงานจากนักวิชาการเป็นจำนวนมาก มีประเด็นที่น่าสนใจจากการประชุม ได้แก่ เชื้อโรคและสุขอนามัยในชุมชน โรคที่มีความเกี่ยวพันกับปัญหาความยากจน การเกษตรและบทบาทของโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และผลกระทบจากคุณภาพของยาปฏิชีวนะและปัญหาเชื้อดื้อยา

ในการประชุมครั้งนี้ สัตวแพทย์หญิงอังคณา เลขะกุล Research fellow ภายใต้โครงการ HPSR fellowship ได้เสนอผลงานวิชาการเรื่อง การใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่มสำคัญขั้นวิกฤต (critically important) ในสุกร จากการศึกษาพบว่า ร้อยละ 31 ของเกษตรกรในการศึกษาใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มสำคัญขั้นวิกฤต และยาปฏิชีวนะที่ใช้ผสมอาหารสุกร ร้อยละ 64 (541 ตัน) จัดอยู่ในกลุ่มยาสำคัญขั้นวิกฤต โดยได้มีข้อเสนอเชิงนโยบายในการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งให้มีการส่งเสริมทางเลือกในการจัดการสุขภาพสุกรนอกเหนือจากการใช้ยาปฏิชีวนะให้เกษตรกรต่อไป โดยการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยาพนธ์ของสัตวแพทย์หญิงอังคณา ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาเอกที่ London School of Hygiene and Tropical Medicine ภายใต้โครงการ HPSR fellowship ของสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ

***************************************************************************************************