News

หนังสือ “งานรำลึก12ปี นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์”

หนังสือ “งานรำลึก12ปี นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์”  >>>>>CLICK<<<<<

งานรำลึก ๑๒ ปี นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นงานที่มูลนิธิ
มิตรภาพบำบัด จัดต่อเนื่องมาทุกปี. ในปีนี้ประธานในงานคือ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
ประธานกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาและอดีตผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย ได้ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “การสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา :
บทเรียนจากหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”; ซึ่งได้กล่าวถึงบริการสาธารณะอีกประเภทหนึ่งที่
มีความสำคัญเช่นเดียวกับงานสาธารณสุข คือบริการทางการศึกษา. กองทุนเพื่อความเสมอภาค
ทางการศึกษา (กสศ.) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
ซึ่งหวังว่าการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทย ในที่สุดจะสามารถประสบความสำเร็จ
เหมือนภาคสาธารณสุขที่คุณหมอสงวนฯ และผู้ร่วมอุดมการณ์ได้ทำกับระบบประกันสุขภาพ
ถ้วนหน้า ที่ประสบความสำเร็จและได้รับคำ ชื่นชมจากทั่วโลก. ในงานมีการมอบรางวัล
มิตรภาพบำบัดดีเด่นเหมือนเช่นทุกปี สำหรับปี ๒๕๖๒ ได้มอบรางวัลมิตรภาพบำบัดดีเด่น ๔
รางวัลและรางวัลชมเชย ๙ รางวัล ให้แก่ ผู้ป่วย อาสาสมัคร ผู้ให้บริการและหน่วยบริการที่
สนับสนุนงานมิตรภาพบำบัดตลอดมา ซึ่งทุกท่านที่ได้รับรางวัลล้วนสร้างผลงานที่ทรงคุณค่า
มากกว่ารางวัลที่ได้รับทั้งสิ้น
สำหรับองค์ปาฐกในงานได้รับเกียรติจากนายแพทย์วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร
“นายช่างผู้บรรจงสร้างระบบบริการและหลักประกันสุขภาพไทย” ซึ่งมาปาฐกถาในหัวข้อ
“หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม”. นายแพทย์วิโรจน์ได้ตั้งคำถามและ
ตอบคำถามสำคัญในการเปลี่ยนแปลงระบบสุขภาพของประเทศไทย คือ (๑) What have been
transformed? ซึ่งคำตอบคือระบบธรรมาภิบาลที่พัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วง ค.ศ. ๑๙๙๐, จาก
ระบบราชการไปจนถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและภาคส่วนต่างๆ. (๒) What are
the contributing factors? ปัจจัยที่มีผลต่อการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่ผ่านมา ได้แก่
บทบาทของกระทรวงสาธารณสุข, การเข้าถึงยารวมทั้งยากำพร้า, การให้ความสำคัญอย่างต่อ
เนื่องสำหรับงบประมาณระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, ศักยภาพของประเทศไทยในการ
ผลิตหลักฐานข้อเท็จจริง (evidences), และบทบาทของภาคประชาสังคมและพลเมืองที่เข้มแข็ง
ในการทำให้เสียงของพวกเขามีผู้ได้ยิน. (๓) Outcomes of the transformations ผลลัพธ์
ที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูปของประเทศไทย ซึ่งมีผลลัพธ์สำคัญ คือมีการออกแบบที่ดี, นำความรู้
จากตำรามาประยุกต์อย่างได้ผล, ทุกบทเรียนผ่านการทดลองมาหลายครั้งเป็นอย่างดี.
ในภาคบ่ายเป็นเวทีการเสวนาเรื่อง “การมีส่วนร่วมของผู้ป่วยต่อการพัฒนาระบบ
หลักประกันสุขภาพที่ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง” โดยผู้แทนจากเครือข่ายผู้ป่วยโรคต่างๆ รวม
ทั้งคนพิการและคนไร้บ้าน; ซึ่งเน้นในประเด็นของการผลักดันสิทธิประโยชน์, การเข้าถึงบริการ
ของรัฐ, และการไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง; โดยความร่วมมือกันของเครือข่ายพลเมืองที่เข้มแข็ง.
เชื่อว่า กิจกรรมดังกล่าวนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของ “แสงดาวแห่งศรัทธา” ที่แม้จะไม่สุกใสสว่างไสว
แต่จะเป็นพลังใจให้แก่กันและกันอย่างไม่มีวันมอดดับ.

ด้วยจิตคารวะ
นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน
ประธานมูลนิธิมิตรภาพบำบัด

*ส่วนหนึ่งจากหนังสือ “งานรำลึก12ปี นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์”

ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ได้เข้าร่วมเสวนาออนไลน์ Suthichai live

ดร.ภญ.วลัยพร พัชรนฤมล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ได้เข้าร่วมเสวนาออนไลน์ Suthichai live: think tank ยุทธศาสตร์ การแก้ปัญหา COVID-19 ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์และสาธารณสุข และภาคเอกชน โดยมีคุณสุทธิชัย หยุ่น เป็นผู้ดำเนินรายการและร่วมเสวนาด้วย

รับชมการเสวนาออนไลน์ย้อนหลัง ? http://www.youtube.com/watch?v=ANyO9yoaCsU

สธ.ไทย ประชุมทางไกลกับรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนและอาเซียนบวกสาม หารือความร่วมมือตอบโต้ COVID-19

กระทรวงสาธารณสุขไทย ร่วมประชุมทางไกลกับรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนและอาเซียนบวก 3 แลกเปลี่ยนข้อมูล และหารือมาตรการสร้างความร่วมมือและการประสานงานในการตอบโต้การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในอาเซียน

——————————————————————————————————————————————————————————–

นายแพทย์สำเริง  แหยงกระโทก ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ร่วมการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนทางไกลสมัยพิเศษ ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือในการตอบโต้โรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (COVID-19) ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียน ประกอบด้วย บรูไน ดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม รวมทั้งผู้แทนองค์การอนามัยโลกภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก ร่วมแลกเปลี่ยนมาตรการของไทยที่ให้ความสำคัญกับการค้นหาผู้ติดเชื้อตั้งแต่ระยะแรก และการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง ได้เสนอให้ยกระดับความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพควบคุมการระบาดของโรคในภูมิภาค และสร้างความมั่นใจว่ามาตรการจำกัดการเดินทาง จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการขนส่งยา วัคซีน และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นในการปกป้องชีวิตผู้ป่วย รวมทั้งเมื่อมียาและวัคซีนแล้ว ขอให้จัดสรรให้ประเทศสมาชิกอย่างเท่าเทียม ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาเซียนเอาชนะโรคนี้ได้ คือความพร้อมเพรียงในการตอบโต้ COVID-19 ของประเทศสมาชิก

นอกจากนี้ รัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนได้รับรองแถลงการณ์ร่วมเพื่อร่วมมือกันจัดการกับ COVID-19 ในภูมิภาค โดยจะยกระดับการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านกลไกอาเซียน การสื่อสารความเสี่ยงร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างรวดเร็ว การเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นของผู้ที่ติดเชื้อ การประสานความร่วมมือกับหุ้นส่วนการพัฒนาอื่นๆ ทั้งในภูมิภาคและระดับโลกในการสร้างศักยภาพในการตอบโต้ COVID-19

ทั้งนี้ ในช่วงบ่าย ได้มีการหารือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศบวกสาม ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ โดยไทยได้เสนอให้ที่ประชุมร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้โรค COVID-19 แลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างต่อเนื่อง และสร้างช่องทางการสื่อสารระหว่างรัฐมนตรีสาธารณสุขของประเทศอาเซียนบวกสาม เพื่อการประสานงานอย่างรวดเร็ว และที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบต่อแถลงการณ์ร่วมในการร่วมมือกันโต้ตอบต่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 เน้นการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน (Whole society approach) รวมทั้งภาคเอกชนในการตอบโต้ COVID-19  และการเยียวยาผลกระทบในทุกมิติ

ที่มา: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/04/141028/

****************************************************************************************************************************************

The First IHPP In-house Academic Conference

——————————————————————————————————————————————————————–

On Monday March 16th 2020, the International Health Policy Program (IHPP) organized “The First IHPP In-house Academic Conference” at Sarn-jai 1/2 meeting room, NHCO building, Ministry of Public Health. The conference focused on strengthening research capacity among young researchers. The knowledge exchange platform focused on presenting outstanding research of each IHPP node. The discussion involved breadth and depth of research issues in terms of methodology and policy implication. The external reviewers are Asst. Prof. Pattarawalai Talungchit from Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University and Asst. Prof. Chalermpol Chamchan from Institute for Population and Social Research (IPSR), Mahidol University together with IHPP’s senior mentors such as Dr. Suwit Wibulpolprasert, Dr. Viroj Tangcharoensathien and Dr. Walaiporn Patcharanarumol and several IHPP senior researchers.  The presented research topics are as  follows.

This conference provided a great opportunity for cross-node learning, gaining new methodological knowledge and new insights regarding potential policy implication. It also helps improve presentation skill and language affluence of IHPP colleagues.

**********************************************************************************************************************************