Special speaker on the 2nd National Forum on AMR

Special speaker on the 2nd National Forum on AMR

Special speaker on the 2nd National Forum on AMR, February 20th–21st 2020 at the Rama Garden hotel, Grand Ballroom, Bangkok.


ENG

On February 20th, 2020, Dr. Viroj Tangcharoensathien, Dr. Sunicha Chanvatik and Dr. Supapat Kirivan participated in the 2nd National Forum on AMR and gave a speech on the topic “Connecting the dots: Aligning evidence to policy I: Health Policy and Systems Research on AMR (HPSR-AMR)”  and  “Trends of AMR situations, antimicrobial consumption and public awareness on AMR” at the Rama Garden hotel, Grand Ballroom, Bangkok.

The 2-day forum was held during February 20th–21st 2020 with the aims of facilitating and strengthening multi-sectoral collaboration and practical actions under the One Health approach to support the implementation of Thailand’s NSP-AMR 2017-2021.

With a short, but motivating speech, Dr. Viroj Tangcharoensathien aimed to introduce Thai working group on Health Policy and Systems Research on Antimicrobial Resistance (HPSR-AMR) and their roles in tackling antimicrobial resistance. This working group consisted of more than 50 multi-disciplinary and multi-sectoral researchers using the One Health approach to strengthen and sustain the existing monitoring and evaluation platforms for the NSP-AMR 2017-2021.

The presentation on the topic “Trends of AMR situations, antimicrobial consumption and public awareness on AMR” aimed to report progress of 3 of 5 Goals’ NSP-AMR. The three goals in the presentation were 20% reduction of antimicrobial consumption in humans, 30% reduction of antimicrobial consumption in animals, and20% increase in public knowledge on AMR and awareness of appropriate use of antimicrobials by 2021.

THAI

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา ดร.นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร สพ.ญ.สุณิชา  ชานวาทิก และ น.สพ.ศุภภัทร  คีรีวรรณ ได้เข้าร่วมงานและเป็นวิทยากรใน “งานประชุมระดับชาติว่าด้วยเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ ครั้งที่ 2” ภายใต้หัวข้อ “Connecting the dots: Aligning evidence to policy I: คณะทำงานวิจัยนโยบายและระบบสุขภาพเรื่องเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทย (HPSR-AMR)” และ“สถานการณ์การดื้อยาต้านจุลชีพ ปริมาณการบริโภคยาต้านจุลชีพ และความตระหนักรู้เกี่ยวกับการดื้อยาต้านจุลชีพ” ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร

โดยงานประชุมดังกล่าวจัดขึ้นจำนวนทั้งสิ้น 2 วัน ตั้งแต่วันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งของการประสานร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ และการดำเนินการในทางปฏิบัติภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564

ในการบรรยายของ ดร.นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญ ภายใต้หัวข้อ “Connecting the dots: Aligning evidence to policy I: คณะทำงานวิจัยนโยบายและระบบสุขภาพเรื่องเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทย (HPSR-AMR)” ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานวิจัยนโยบายและระบบสุขภาพเรื่องเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทย ซึ่งเป็นเครือข่ายนักวิจัยจากหลากหลายภาคส่วนที่ร่วมกันทำงานภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลของแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564

ในการบรรยายของ สพ.ญ.สุณิชา ชานวาทิก และ น.สพ.ศุภภัทร คีรีวรรณ มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานความคืบหน้าสถานการณ์การบริโภคยาปฏิชีวนะของประเทศไทย และความตระหนักรู้ในการใช้ยาต้านจุลชีพของประชาชนไทย ซึ่งหัวข้อนี้ครอบคลุมการติดตาม 3 เป้าประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทย ในการลดการบริโภคยาปฏิชีวนะในคนและสัตว์ลง 20% และ 30% ตามลำดับ และเพิ่มความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและความตระหนักในการใช้ยาต้านจุลชีพของประชาชนไทย ร้อยละ 20 ภายใน พ.ศ. 2564

*************************************************************************************************************************************************************************************