News

The Global Health Diplomacy Workshop in Tokyo, Japan

The Global Health Diplomacy Workshop in Tokyo, Japan

Department of Global Health Policy จาก University of Tokyo ร่วมกับ Human Resource Strategy Center for Global Health (HRC-GH) และ Institute for Global Health Policy Research (iGHP) จาก National Center for Global Health and Medicine ร่วมจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “Global Health Diplomacy Workshop”  ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึง วันที่ 1 ธันวาคม 2562

การประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิชาการรุ่นใหม่เพื่อก้าวไปสู่ผู้นำด้านสุขภาพโลก ซึ่งภายในงานมีผู้เข้าร่วมอบรม 21 ท่านจากประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยตัวแทนจาก Ministry of Health, Labour and Welfare, Japan International Cooperation Agency (JICA) และองค์การนอกภาครัฐ และมีตัวแทนจากประเทศไทยจำนวน 4 ท่านเข้าร่วมด้วย

โดยภายในงานดังกล่าวนี้นายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ (IHPP) ดร.ชาลี กาญจนกุญชร (กระทรวงการต่างประเทศ) และดร.วริศา พานิชเกรียงไกร (IHPP) ได้รับเชิญเป็นวิทยากรเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของประเทศไทยอีกด้วย

CONSULTATIVE WORKSHOP ON UNIVERSAL HEALTH COVERAGE FOR CHILDREN AND WOMEN WITH 8 COUNTRIES

 

CONSULTATIVE WORKSHOP ON UNIVERSAL HEALTH COVERAGE FOR CHILDREN AND WOMEN WITH 8 COUNTRIES

ในวันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2562 องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ จัดการประชุมปรึกษาหารือระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกเพื่อขับเคลื่อนการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้แก่ประชาชน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจาก 8 ประเทศได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มองโกเลีย ฟิลิปปินส์ ติมอร์ตะวันออก เวียดนามและประเทศไทย

การประชุมครั้งนี้มีวัตถุเพื่อสร้างเวทีในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างประเทศในภูมิภาค และการเรียนรู้ประสบการณ์จากประเทศไทยในการขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ และระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้สำเร็จและมีความยั่งยืน รวมทั้งการผลักดันนโยบายและการจัดบริการด้านอนามัยแม่และเด็กให้มีความครอบคลุมอย่างมีคุณภาพ โดยดร.นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร เป็นผู้นำการประชุม รูปแบบการเรียนรู้ประกอบด้วยการบรรยาย การอภิปรายและนำเสนอข้อมูลรายประเทศ และการลงพื้นที่เพื่อรับฟังข้อมูลและเยี่ยมชมการจัดบริการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอยุธยา โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา โรงพยาบาลภาชี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและการเยี่ยมบ้านพร้อมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

ประเด็นสำคัญจากการประชุมกล่าวโดยสรุปคือ การที่ประเทศจะบรรลุเป้าหมายแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ได้ จำเป็นต้องสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ครอบคลุมประชากร ซึ่งระบบบริการปฐมภูมิคือหัวใจสำคัญของการจัดบริการตามแนวทางหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมประชุมได้กล่าวถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ในอีกหลากหลายประเด็น เช่น การได้วิเคราะห์อุปสรรคและโอกาสพัฒนาของประเทศตนเอง ความสำคัญของการออกแบบนโยบายให้เข้ากับบริบทประเทศโดยมุ่งเน้นความครอบคลุมของระบบบริการปฐมภูมิ และการเพิ่มงบประมาณด้านสุขภาพมากขึ้น รวมทั้งการขยายขอบเขตบริการสุขภาพด้านอนามัยแม่และเด็กให้ครอบคลุมและเพียงพอ

Study Visit of Promoting evidence-based policymaking for universal health coverage

Study Visit of Promoting evidence-based policymaking for universal health coverage

Wednesday 20 – Friday 22   November 2019

Bangkok, Thailand

เมื่อวันที่ 20-22 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ(International Health Policy Program, IHPP) ได้มีโอกาสจัดการศึกษาดูงานให้แก่คณะผู้แทนจาก National Institute of Public Health, National Social  Protection Council, Ministry of Health’s Department of Planning and Health Information และInternationale Zusammenarbeit (GIZ) GmbH จากประเทศกัมพูชา ทั้งหมด 11 ท่าน  มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนานโยบายสุขภาพโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ (Evidence-based policy) โดย ในวันแรกของการศึกษาดูงานนั้นได้รับเกียรติจากนายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และได้เน้นถึงความสำคัญของการนำข้อมูลการวิจัยมาใช้เพื่อกำหนดนโยบายระดับประเทศและความท้าทายด้านสุขภาพของประเทศไทย

ตลอดระยะเวลาในการดูงาน ตัวแทนจากประเทศกัมพูชาได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ในการร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายด้านสุขภาพจากหลายหน่วยงานในประเทศไทย อาทิ เช่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุข โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

สำหรับการศึกษาดูงานของวันที่สองนั้น ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถ.แจ้งวัฒนะฯ  ทันตแพทย์อรรถพร  ลิ้มปัญญาเลิศ  รองเลขาธิการ สปสช. ได้กล่าวต้อนรันผู้บริหารกระทรวงและทีมที่มาศึกษาดูงานการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไทย นอกจากนี้ทพ.อรรถพร กล่าวว่าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยที่ในแต่ละปีช่วยทำให้คนไทยเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประชาชนไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลและลดภาวะล้มละลายของครอบครัว  นอกจากนี้ทพ.อรรถพรได้กล่าวต่อว่า ทางสปสช มีความยินดีที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการถ่ายทอดทอดประสบการณ์การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทย บทเรียนตลอดจนความรู้ต่างๆ เพื่อช่วยสนับสนุนให้กัมพูชาบรรลุเป้าหมายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อประชาชน อันจะช่วยยกระดับสุขภาวะประชาชนอาเซียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

สำหรับวันสุดท้ายของการศึกษาดูงาน ได้รับเกียรติจากเภสัชกรหญิงวลัยพร  พัชรนฤมล  ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กล่าวสรุปและปิดการศึกษาดูงาน  พร้อมทั้งร่วมถ่ายภาพหมู่เป็นที่ระลึกสำหรับการศึกษาดูงานครั้งนี้